ในวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ระหว่าง 13.30 – 15.35 น.
ณ ห้องอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
ร่วมจัดโดยกรุงเทพมหานครและสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย
สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://shorturl.at/wKLOW
บทนำ
การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นไปที่วิธีการป้องกันการเลือกประติบัติและการคุกคามผู้มีความหลากหลายทางเพศในที่ทำงาน รวมทั้งการนำเสนอตัวอย่างนโยบายในเรื่องดังกล่าวโดยอ้างอิงประสบการณ์จากสวีเดน ทั้งนี้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่หนักแน่นว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของทุกคน โดยไม่จำต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศหรือรสนิยมทางเพศให้เป็นเงื่อนไขสำคัญของสังคมประชาธิปไตย และทุกองค์กรรวมไปถึงสถาบันของรัฐและเอกชนมีบทบาทที่ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว
ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้และเราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากท่านจะเข้าร่วมสัมมนาและมีส่วนร่วม การสัมมนาจะดำเนินเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีบริการล่ามพูดพร้อม หลังจากจบสัมมนา จะมีการฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นจากสวีเดนเรื่อง Next Door Letters
กำหนดการ
13.30 น.
ลงทะเบียน
14.00 -14.05 น.
กล่าวนำ
14.05 - 14.10 น.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวเปิดงาน
14.10 - 14.15 น.
เอกอัครราชทูตสวีเดนกล่าวเปิดงาน
14.15 - 14.25 น.
“การเลือกประติบัติและการคุกคาม LGBTQI+ ในที่ทำงานคืออะไร และวิธีการป้องกันประสบการณ์จากหน่วยงานราชการในสวีเดน” โดย อุลลา แพร์มาน, ผู้ตรวจสอบ หน่วยพัฒนาและวิเคราะห์ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อความเท่าเทียมของสวีเดน
14.25 - 14.35 น.
“องค์กรจะได้รับประโยชน์จากการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและการป้องกัน การเลือกปฏิบัติและการคุกคาม LGBTQI+ ในที่ทำงาน” โดย คาร์ล อีฟส์ วัลลิน, กรรมการผู้จัดการ สมาคมสหพันธ์สวีเดนสำหรับ LGBTQI+ (RFSL) (*2)
14.35 - 14.45 น.
“องค์กรจะได้รับประโยชน์จากการรวมและการป้องกัน การเลือกปฏิบัติและการคุกคาม LGBTQI+ ในสถานที่ทำงานได้อย่างไร” โดย คริสเตียน แดสสันวิลล์, ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลประจำประเทศไทย บริษัทอิเกีย ประเทศไทย
14.45 - 14.55 น.
“การถูกมองเห็น การเลือกประติบัติ และการคุกคาม LGBTQI+ ในธุรกิจการแสดงของเมืองไทย” โดย เจมส์ รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น
14.55 - 15.15 น.
การอภิปรายและถามตอบ
15.15 - 15.20 น.
สรุปและสิ้นสุดการสัมมนา
15.20 - 15.35 น.
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจากสวีเดนเรื่อง Next Door Letters
(*1) หน่วยงานของรัฐบาลในสวีเดนที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกประติบัติบนพื้นฐานประเด็นในด้านต่าง ๆ อาทิ เพศ อัตลักษณ์หรือการแสดงออกของคนข้ามเพศ ชาติพันธุ์ ศาสนาหรือความเชื่ออื่น ๆ ความพิการ รสนิยมทางเพศหรืออายุ
(*2) RFSL เป็นหน่วยงานภาคประชาสังคมในสวีเดนและเป็องค์กร LGBTIQ+ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ที่ทำงานเพื่อรักษาสิทธิและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ LGBTIQ+